ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเว็บเพจ (Wed Page)
เว็บเพจ (Web Page) คืออะไร ?
เว็บเพจ คือ เอกสารที่ใช้ในการเผยแพร่ข้อมูล
ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลแบบสื่อประสม เช่น ข้อความ,ภาพ,ภาพเคลื่อนไหว,เสียง เป็นต้น
โดยการนำเสนอผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ซึ่งมี ความแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์การใช้งาน
ประโยชน์ของเว็บเพจ
ปัจจุบันเป็นยุคของข้อมูลข่าวสารที่เรามักได้ยินคำว่ายุค IT หรือ
เทคโนโลยีสารสนเทศ มีการพัฒนาระบบสื่อสารทำให้ สารสนเทศ ต่าง ๆ
ส่งผ่านถึงกันได้สะดวกขึ้น มีการนำระบบเทคโนโลยี สารสนเทศและ การสื่อสาร
Information and Communication Technology (ICT ) เข้ามาใช้ในชีวิต
ประจำวันมากขึ้น เว็บเพจ สามารถเผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น
1.ข้อมูลทางการศึกษา เช่น ความรู้ทางวิชาการต่าง ๆ
1.ข้อมูลทางการศึกษา เช่น ความรู้ทางวิชาการต่าง ๆ
2.ประชาสัมพันธ์บริษัทและองค์กรต่างๆ
3.ความบันเทิง
4.ข่าวเหตุการณ์ปัจจุบัน
5.การซื้อ-ขายสินค้า และบริการต่าง ๆ
6.การดาวน์โหลดข้อมูล
7.บริการติดต่อสื่อสาร เช่น การรับส่ง E-mail
8.บริการอื่น ๆ
3.ความบันเทิง
4.ข่าวเหตุการณ์ปัจจุบัน
5.การซื้อ-ขายสินค้า และบริการต่าง ๆ
6.การดาวน์โหลดข้อมูล
7.บริการติดต่อสื่อสาร เช่น การรับส่ง E-mail
8.บริการอื่น ๆ
ตัวอย่างเว็บเพจหน้าแรกของเว็บไซต์ google
ตัวอย่างเว็บเพจหน้าแรกของเว็บไซต์ sanook
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างเว็บเพจที่ควรทราบ
เซิร์ฟเวอร์ (server) และ ไคลเอนต์ (Client)
การติดต่อสื่อสารบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้าด้วยกันทั่วโลกนั้น
จะมีการติดต่อสื่อสาร 2 แบบ คือ แบบส่งข้อมูลและรับข้อมูล โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในการส่งข้อมูล
เรียกว่า เครื่องให้บริการ (Server) หรือบางทีอาจเรียกว่า "เครื่องแม่ข่าย" ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รับข้อมูลหรือ
เรียกขอข้อมูลจากเครื่องแม่ข่ายไปใช้งานจะเรียกว่า เครื่องรับบริการ
(Client) หรือบางทีอาจเรียกว่า "เครื่องลูกข่าย"
เครือข่ายใยแมงมุม WWW (World Wide Web)
เป็นบริการรูปแบบหนึ่งในระบบอินเทอร์เน็ต ที่เราทุกคนคุ้นเคยและใช้บริการนี้กันอยู่ทุกวันในการใช้งานระบบ อินเทอร์เน็ตที่เราเรียกสั้นว่า "เว็บ" นั่นเอง โดยการสร้างเอกสารในอินเทอร์เน็ต จะมีลักษณะที่พิเศษกว่าเอกสารทั่วไป ตรงที่สามารถใส่จุดเชื่อมโยง (Links) ไปยังเอกสารอื่น ๆ ได้มากมาย โดยเอกสาร หลายมิติที่กล่าวนี้จะถูกเรียกว่า Hypertext หรือเอกสาร html นั่นเอง เอกสารเหล่านี้จะถูกแสดงด้วยโปรแกรมเฉพาะที่เรียกว่า เว็บเบราว์เซอร์ (Web Broswer) โดยข้อความในเอกสารนั้นสามารถเชื่อมโยงไปเปิดเอกสารอื่นขึ้นมาได้อีก การที่เอกสารสามารถเชื่อมโยงกันได้ทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างเอกสาร ในอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่ทั่วโลก โยงกันไปมาจนดูราวกับเป็นใยแมงมุม จึงทำให้ระบบนี้ ถูกเรียกว่า เครือข่ายใยแมงมุมทั่วโลก (World Wide Web) หรือ WWW หรือที่นิยมเรียกันย่อ ๆ ว่า เว็บ (Web) นั่นเอง
ไอพีแอดเดรส (IP Address)
คือ
ที่อยู่ของเว็บไซต์ โดยระบุเป็นตัวเลขเป็นชุด ๆ โดยมีจุดคั่นแต่ละชุด เช่น 192.168.1.1
แต่ละเว็บไซต์จะมีที่อยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต
เป็นชุดตัวเลข เว็บไซต์ละ 1 ชุดโดยไม่ซ้ำกัน คล้ายกับบ้านเลขที่นั่นเอง
โดนเมนเนม (Domain Name)
คือ ที่อยู่ของเว็บไซต์
แต่เป็นการนำตัวอักษรมาแทนตัวเลข เช่น www.moe.go.th เพื่อให้จดจำได้ง่ายขึ้น
เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้น เป็นชุดตัวเลข ที่มีความยาวทำให้ยากต่อการจดจำ
จึงได้มีการใช้ โดเมนเนม (Domain Name) แทน โดเมนเนมจะไม่ซ้ำกัน มักจะตั้งชื่อให้สอดคล้องกับชื่อบุคคล
องค์กร
หรือหน่วยงานผู้เป็นเจ้าของเว็บไซต์
เพื่อสะดวกในการจดจำชื่อ ตัวอย่าง เช่น เว็บไซต์มหาวิทยาลัย abc มีไอพีแอดเดรส
เป็น 206.217.189.19 เพื่อให้จดจำชื่อเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้นและสะดวกต่อการเข้าใช้งานเว็บไซต์สามารถเปลี่ยนเป็นโดเมนเนมคือ
www.abc.ac.th แทน เป็นต้น
...........................................................................................................................